1 การล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้เคลื่อนไหว gif
1 การล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเรือเคลื่อนไหว gif
จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส  
             ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1814 เมื่อนโปเลียนถูกถอดจากราชบัลลังก์ และเริ่มเข้าสู้ยุคจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่ 2 อีกครั้งในปี 1830 เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรีย และเริ่มเสื่อมถอยลงจากสงครามในเวียดนาม  และแอลจีเรีย  ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในอีกหลายๆประเทศภายหลังปี 1960

แรงผลักดันที่ก่อให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม
เศรษฐกิจ อุดมการณ์ความเชื่อ และเหตุผลทางยุทธศาสตร์ เป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม 
เศรษฐกิจ เป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่สุด กล่าวคือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่อาจขยายตัว หรือแม้แต่รักษาระดับของการผลิตไว้ได้ ถ้าหากตลาดระบายสินค้าใหม่ไม่ทัน เพราะหลัง ค.ศ. 1879-1880 ยุโรปได้ใช้ภาษีกีดกันการนำเข้า ทำให้ตลาดการค้าเปิดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ประเทศต่างๆในยุโรปจึงต้องหาตลาดใหม่ 
ความต้องการขยายอิทธิพลไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
อุดมการณ์และความเชืื่อเข้ามมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความต้องการที่จะเห็นประเทศของตนมีอำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง จึงทำให้เกิดความเชื่อ พวกเขามี "หน้าที่" ต้องปฏิบัติในโลกความคิดเรื่องชื่อเสียงของประเทศมีความสำคัญเกี่ยวพันกับความก้าวหน้าของลัทธิชาตินิยมอย่างใกล้ชิด การปฏิบัติการล่าอาณษนิคมของฝรั่งเศสได้รับการสนับสนุนจากคนหลายกลุ่ม เช่น ทหาร นักเดดินเรือ มิชชันนารี นักบริหารโรงงาน พ่อค้าส่งออกสินค้า
เหตุผลทางยุทธศาสตร์ กล่าวคือ การปฏิบัติยุทธวิธีทางทะเลจำเป็นต้องมีฐานสนันสนุนเพื่อการซ่อมบำรุง การส่งเสบียง การผลัดเปลี่ยนกำลังพล และที่สำคัญคือ ต้องมีฐานยุทธการซึ่งควบคุมดูแลความปลอดภัยในการคมนาคมทางทะเลเป็นระยะๆ การที่มหาอำนาจมีฐานปฏิบัติการโพ้นทะเลช่วยให้ขยายอิทธิพลเข้าไปในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นและสามารถใช้กำลังเข้าปราบปรามฝ่ายตรงข้ามได้ทันที ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง (กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ.112 ตามหลักฐานฝรั่งเศส : 3-5)


อาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรัชสมัยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลต่อโฉมหน้าของประเทศไทย และประเทศเพื่อบ้านในคาบสมุทรอินโดจีน ยุคสมัยดังกล่าวเป็นช่วงเวลาของชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองการทหารเข้ามาในภูมิภาคอินโดจีน เข้าแทรกแซงและยึดครองดินแดนในแถบนี้เป็นอาณานิคม การขยายอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศส ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาณาจักรสยาม ซึ่งเป็นชาติที่เข้มแข็งและมีหัวเมืองขึ้น ที่ยอมอ่อนน้อมจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นล้านนา ล้านช้าง หรือดินแดนในคาบสมุทรมลายู (รัชกาลที่ 5 สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป : 513)
การขยายอิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสต่อประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2231 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอนปลาย ได้มีเหตุที่ทำให้การติดต่อระหว่างไทยกับฝรั่งเศสหยุดชะงักลง จนกระทั่งไทยเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้รับการฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. 2399 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย และจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส มีความต้องการที่จะขยายอิทธิพลของจักรวรรดินิยมในแถบอินโดจีนซึ่งรวมทั้งไทยด้วย โดยมีอังกฤษ เป็นคู่แข่งสำคัญ เมื่อฝรั่งเศสทราบว่าไทยตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ทำให้ฝรั่งเศสให้ความสนใจไทยมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยก็ต้องการฟื้นฟูสัมพันธภาพกับฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน เนื่องจากต้องการให้ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอังกฤษ จากการที่อังกฤษสามารถครอบครองพม่าได้เกือบทั้งหมดในปี พ.ศ. 2396 ทำให้ไทยเกรงกลัวอิทธิพลของอังกฤษที่ขยายเข้ามาใกล้ไทยทุกขณะ จึงได้เสนอที่จะทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ตั่งแต่ปี พ.ศ. 2397 แต่ไม่ได้รับการตอบรับ จนเมื่อไทยตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษแล้ว ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ส่ง ชาร์ล เดอ มองติญี (Charle De Montege) กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เป็นผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม มาเจรจาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้ากับไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2398 และสัญญามีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2399


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 ขัติยพันธกรณี

3 วิกฤการณ์ ร.ศ. 112

2 ปัญหาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง