2 ปัญหาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพดอกไม้เคลื่อนไหว gif
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปัญหาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ร.ศ.112
ปัญหาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
   ตลอดระยะเวลา 42 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีระยะเวลาใดที่ประเทศไทยจะต้องเสี่ยงกับการตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกเท่ากับเหตุการณ์ที่เรียกว่า"วิกฤตการณ์ไทย-ฝรั่งเศส 1893" ปัญหาที่สร้างความข่มขืนใจให้ไทย จนนำไปสู่วิกฤติดังกล่าวคือปัญหาฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

1.ตัวปัญหา
         ฝรั่งเศสต้องการดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยอาศัยความคลุมเครือของเขตแดนไทย-ญวน ที่ทั้งสองฝ่ายไม่เคยกำหนดว่าเขตแดนที่แท้จริงอยู่ตรงไหน นี่คือทัศนะของนายเลเนสซัง นักการเมืองชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวไว้ตั้วแต่ ค.ศ. 1886 และในระหว่างเกิดวิกฤตการณ์ไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1893 เขาเป็นผู้สำเร็จราชการอินโดจีน

2.หลักฐานเกี่ยกับอาณานิคมของไทย-ญวน
        หลักฐานที่นายดิก ไชโน ซึ่งเป็นลูกครึ่งที่มีบิดาเป็นนายทหารเรือฝรั่งเศส  รับราชการกับจักพรรดิยาลองได้เขียนไว้ใน ค.ศ. 1820 ว่า "...ราชอาณาจักรญวน มีพรมแดนด้านตะวันตกกั้นโดยเทือกเขาแดนลาว ยาวตลอดพรมแดน"
    หลักฐานที่นายดรูเตวิล เดอ แรงน์ ซึ่งเป็นผู้บังคับการเรือฟรีเกตของจักรพรรดิตือดึ๊ก ได้เขียนไว้ใน ค.ศ. 1876 ว่า "ระยะไกลที่สุดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนลาวและญวน ห่างจากทะเลออกไป 25 ไมล์..."
       หลักฐานของสังฆราชตาแบร์ด  แห่งโคชินจีนเขียนไว้ในสมัยจักรพรรดิมินมาง เป็นที่แสดงอาณาเขตของญวน กินเข้าไปถึงเส่้นลองติจูดที่ 104 ตะวันออก และได้รวม "Bing Bend" ซึ่งฝรั่งเศสกำลังอ้างอยู่ในปี ค.ศ. 1883 ไว้ด้วย
       หลักฐานที่สำคัญ  ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจและทำแผนที่ของชาวฝรั่งเศสสองคน คือ การ์นิเยร์ กับ เดอลาเกร  ในระหว่าง ค.ศ. 1866-1867 ได้แสดงให้เห็นว่า ดินอดนของไทยอยู่ห่างจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงไปทางตะวันออกเป็นอันมาก และแผนที่ฉบับนี้เป็นแผนที่ซึ่งลบล้างแผนที่ของสังฆราชตาแบร์ดอย่างสิ้งเชิง
        หลักฐานล่าสุดพิมพ์ที่ปารีสในปี ค.ศ. 1893 โดยนายชราเดอร์ ได้แสดงอาณาเขตของญวนล้ำเข้าไปในอาณาเขตของไทย ตั้งแต่สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย เลย แพร่ น่าน และเชียงราย
          ส่วนหลัฐานที่ไทยมีอยู่ชิ้นเดียวคือ แผนที่ซึ่งพระวิภาคภูวดล เป็นผู้ทำและพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 แสดงอาณาเขตไทยจากเชียงแข็ง กินเข้าไปบริเวณสิบสองปันนา สิบสองจุไทย ลากไปตามแม่น้ำดำ กินบริเวณหัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน ขนานไปตามทะเลจนเกือบจะถึงเมืองนาตรัง แล้วหักมุมฉากเข้่ามาถึงเสียมราฐ

 นอกจากหลักฐานประเภทเอกสารแล้ว หลักฐานอื่นๆที่แสดงไทยมีดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เช่น
1.การที่ไทยมีข้าหลวงอยู่ประจำอยู่ ณ หลวงพระบาง
2.การที่ฝรั่งเศสขออนุญาตรัฐบาลไทยตั้งไวซ์กงสุลเมืองหลวงพระบาง
3.การที่ฝรั่งเศสขออนุญาตรัฐบาลไทยสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และขอความช่วยเหลือการสำรวจพาหนะ เสบียงอาหาร
4.การที่เจ้านครหลวงพระบาง ส่งคนเข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยาทุกปี

ถ้าพิจารณาเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น อาจแบ่งเป็น 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก มีเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงส่วนที่เป็นของไทยมีมากกว่าส่วนที่เป็นของญวน
ประการที่สอง  มีเอกสารเพียง 1 ฉบับ ซึ่งไม่ได้แสดงอาณาเขตว่าดินแดนของญวนและไทยอยู่ตรงไหน
ประการที่สาม  มีเพียง 2 ฉบับ ที่แสดงให้เห็นว่า ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของญวนมากกว่าเป็นของไทย

       แต่เนื่องจากฝรั่งเศสมีความต้องการดินแดนดังกล่าวไปเป็นของตน ฝรั่งเศสจึงไม่อาจนำพาข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้ออ้างของฝรั่งเศสที่ว่าดินแดนเหล่านี้เป็นของญวน หรือบางครั้งก็เคยเป็นของญวนมาก่อน นับว่าฟังไม่ขึ้น เพราะฝรั่งเศสอ้างเช่นนั้น ก็มีข้อที่พิจารณาอยู่ 2 ประการ
ประการแรก ถ้าดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของญวนโดยตลอด ฝรั่งเศสมีหลักฐานอะไรมาแสดงว่าเป็นของญวน และมีอยู่แค่ไหน
ประการที่สอง  ถ้าดินแดนเหล่านี่ เคยเป็นของญวนมาก่อนฝรั่งเศสจะใช้สิทธิจากคำว่า เคยเป็น มาอ้างจะได้หรือ เพราะแคว้นในฝรั่งเศสบางแคว้น เช่น นอมังดี แกสคอนี และกีเยน ก็เคยเป็นดินแดนของอังกฤษมาก่อนครั้งหนึ่ง วิธีอ้างสิทธิของฝรั่งเศสในทำนองเดียวกันนี้ เป็นวิธีที่ฝรั่งเศสเคยใช้มาก่อน 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายปาวี
      ความความคิดของปาวี ที่รายงานไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส คือ จะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางส่งสินค้าทางน้ำและเชื่อมต่อกับจีนตอนใต้ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสก็เห็นดีเห็นงามด้วย และจริงๆแล้วตามแผนการณ์ที่วางไว้ แม่น้ำโขงจะอยู่ตรงกลางอินโดจีนของฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่สามารถเอาฝั่งขวาของแม่น้ำโขงมาจากสยามได้ทั้งหมด ได้เพียงแถบไซยะบุรีและบางส่วนที่เคยเป็นของเมืองน่านมาเท่านั้นแต่ที่ตลกที่สุดก็คือ หลังจากได้แม่น้ำโขงมาไว้ในครอบครองแล้ว ฝรั่งเศสกลับไม่สามารถใช้แม่น้ำโขงเป็นทางขนส่งสินค้าเข้าสู่จีนตอนใด้ได้ตามแผน เพราะแม่น้ำโขงเต็มไปด้วยเกาะแก่ง และสันดอนมากมายโดยเฉพาะที่ไหลผ่านลาวใต้คือแถบน้ำตกคอนพะเพ็ง แต่กระนั้นฝรั่งเศสก็เพียรพยายามที่จะระเบิดเกาะแก่งเหล่านี้ทิ้ง แต่ความที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากมายเกินไปจึงสิ้นความพยายามไป เมื่อใช้ประโยชน์ตามที่คาดไม่ได้ครั้นจะใช้เป็นแหล่งปลูกข้าวแบบเวียดนามบริเวณแม่น้ำโขงก็ไม่เหมาะที่จะเพราะปลูกแบบเวียดนามและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะพื้นที่ราบแถบแม่น้ำโขงมีน้อยและส่วนใหญ่อยู่ฝั่งไทยเสียด้วยแต่เพื่อไม่ให้เสียหน้ามากเกินไปฝรั่งเศสก็จัดให้มีบริษัทเดินเรือกลไฟในแม่น้ำโขงจนได้ แต่ก็มีเรือเพียงลำเดียวที่ใช้รับส่งซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ผู้โดยสารจึงเป็นเจ้าหน้าที่จากเวียงจันทน์ไปกลับสะหวันนะเขตเป็นส่วนมาก ซึ่งแน่นอนว่าขาดทุนยับทีเดียวรัฐบาลจึงต้องออกเงินช่วยจึงอยู่ได้ ส่วนเรือที่ก็เป็นเรือกลไฟที่มีระวางขับขนาดเล็กและวิ่งได้เพียงบางช่วงที่เกาะแก่งมีน้อยเท่านั้น(เบื่องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร จาก ร.ศ.112 จนถึงปัจจุบัน:14-19)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน gif




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 ขัติยพันธกรณี

3 วิกฤการณ์ ร.ศ. 112