4 พระมหากษัตริย์กับการปกป้องดินแดน

"ฉันรู้ตัวชัดเจนอยู่ว่า ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด
ชีวิตฉันก็คงสิ้นสุดไปเมื่อนั้น"


นอกจากนี้ ในพระราชหัตถเรขาของพะบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานไปยังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทีประเทศอังกฤษระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ร.ศ.112 ก็ทรงเล่าถุงอาการประชวรไว้โดยตลอด ในระหว่างที่ทรงประชวรหนักนี้ ความทุกข์ทรมานพระวรกายและพระทัยทำให้หมดกำลังที่จะดำรงพระชนม์ชีพต่อไป จึงหยุดเสวยพระโอสถและได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันท์ขึ้นบทหนึ่งเพื่ออำลาเจ้าจ้านายพี่น้องบางพระองค์
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 นายโอกุสต์ ปาวี
ตัวแทนของรัฐบาลฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลสยามไว้ 6 ข้อ
ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 ข้อที่หนักสุด คือ ข้อ 1 เรียกร้องให้สยามยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้าย แม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส
และข้อ 5 กับข้อ 6
สยามต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2 ล้านฟรังก์
โดยต้องจ่ายเงินรวม 3 ล้านฟรังก์
เป็นมัดจำเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ในระหว่างนี้ฝรั่งเศสขอยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าสยามจะปฏิบัติตามข้อสัญญาต่างๆ
ต่อมาสยามกับฝรั่งเศสก็เริ่มเจรจาทำสัญญาสันติภาพต่อกัน
โดยตกลงขั้นสุดท้ายพร้อมลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 3
ตุลาคม พ.ศ. 2436
ผลของสัญญาก็เป็นไปตามความต้องการของฝรั่งเศสทุกประการ
อย่างไรก็ตามการทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาครั้งนี้
ก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
มิใช่จะสามารถขจัดความยุ่งยากทั้งสิ้นให้หมดไป
จะเห็นได้ว่าหลังจากนี้สยามก็ต้องประสบปัญหาเรื่องแยกแยะคนในอาณัติของตนเองต่อไป
ข้อโต้แย้งที่เกิดเพราะสัญญา ร.ศ. 112 เช่น ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ปัญหาเมืองหลวงพระบาง และเมืองจำปาศักดิ์ ส่วนที่อยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
และปัญหาเมืองจันทบุรี เป็นแรงกดดันที่ทำให้สภาวะการเมืองในระยะนั้นอ่อนไหว
สามปีเศษต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งตรงกับ ร.ศ. 116

ตั้งแต่วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 เริ่มเกิดขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่
ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น
จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคตยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในวิกฤตการณ์
ร.ศ. 112
ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง
จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล ดังที่มหาเสวกเอกพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)
ได้เล่าไว้ว่า
“แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้
ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า
การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้นก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่
รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน”

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น